เมนู

ไว้โดยสิ้นเชิงด้วยอำนาจแห่งนัยแม้ทั้งสามเหมือนกัน ก็ในธรรมเหล่านี้ นัยที่
เป็นสุตตันตภาชนีย์ในสิกขาบทวิภังค์อย่างเดียวไม่มี ถ้าเพ่งถึงพระสูตรแล้ว
ญาณ พระองค์ก็ทรงจำแนกไว้โดยเอกเทศเหมือนกัน ไม่จำแนกโดยสิ้นเชิง
กิเลสทั้งหลายก็เหมือนกัน แต่เพ่งถึงพระอภิธรรมแล้ว ทรงตั้งมาติกาโดยนัย
มีอาทิว่า ญาณวัตถุมีหมวด 1 เป็นต้น แล้วจำแนกไว้โดยสิ้นเชิง กิเลสทั้งหลาย
ก็เหมือนกัน ทรงจำแนกไว้โดยนัยมิใช่น้อย ตั้งแต่เป็นธรรมหมวด 1 เป็นต้น
ก็แต่เพ่งถึงพระสูตร การกำหนดภูมิอื่น ก็ทรงจำแนกไว้โดยเอกเทศนั่นแหละ
ไม่จำแนกไว้โดยสิ้นเชิง เพ่งถึงพระอภิธรรมแล้ว ทรงกำหนดภูมิอื่นไว้ด้วย
นัยทั้งสาม และทรงบัญญัติไว้โดยสิ้นเชิง ชื่อว่า อภิธรรม เพราะอรรถว่า
เป็นธรรมยิ่งและวิเศษด้วยประการฉะนี้.

ว่าโดยปกรณ์ 7



ว่าโดยการกำหนดปกรณ์ พระอภิธรรมนี้ทรงตั้งไว้ด้วยอำนาจปกรณ์
7 คือ
1. ธรรมสังคณีปกรณ์
2. วิภังคปกรณ์
3. ธาตุกถาปกรณ์
4. ปุคคลบัญญัติปกรณ์
5. กถาวัตถุปกรณ์
6. ยมกปกรณ์
7. ปัฏฐานปกรณ์

นี้เป็นกถาที่เหมือนกันของอาจารย์ทั้งหลายในอรรถกถานี้ ส่วนอาจารย์
วิตัณฑวาที (ผู้ค้าน) กล่าวว่า เพราะเหตุไรจึงถือเอากถาวัตถุด้วย กถาวัตถุนั้น
พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระตั้งไว้เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว 218
ปี มิใช่หรือ ? ฉะนั้น ขอให้ตัดเอากถาวัตถุนั้นออก เพราะเป็นสาวกภาษิต
ดังนี้.
สกวาที ถามว่า ก็ปกรณ์ 6 จะเป็นพระอภิธรรมได้หรือ ?
ปรวาที ตอบว่า ข้าพเจ้ามิได้กล่าวอย่างนั้น.
. ถามว่า ถ้าอย่างนั้นท่านกล่าวอย่างไร ?
. ตอบว่า ข้าพเจ้ากล่าวว่า ปกรณ์ 7 ชื่อว่า อภิธรรม.
. ถามว่า ท่านเอาปกรณ์ไหนมาเป็นปกรณ์ที่ 7 ?
. ตอบว่า ปกรณ์ชื่อว่ามหาธรรมหทัยมีอยู่ รวมกับปกรณ์ 6
ก็เป็น 7 ปกรณ์.
. กล่าวว่า ในมหาธรรมหทัยปกรณ์ไม่มีอะไรที่ไม่เคยกล่าว
มาแล้ว (คือไม่มีอะไรใหม่) และปัญหาวาระที่เหลือก็มีเล็กน้อย เพราะฉะนั้น
จึงเป็น 7 พร้อมด้วยกถาวัตถุ มิใช่เป็น 7 ทั้งกถาวัตถุ เป็น 7 ทั้งปกรณ์ที่
ชื่อว่ามหาธาตุกถา ในมหาธรรมหทัยปกรณ์ มีปัญหาวาระที่เหลืออยู่เล็กน้อย
เท่านั้น ทั้งในมหาธาตุกถาก็ไม่มีอะไรใหม่เลย มีตันติคือแบบแผนแห่งคำ
เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเหลืออยู่ จึงรวมเป็น 7 ด้วยกถาวัตถุนั้น.

ความเป็นมาของกถาวัตถุ



จริงอยู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อทรงแสดงซึ่งปกรณ์แห่งอภิธรรม 7
(สัตตัปปกรณ์) มาโดยลำดับ พอถึงกถาวัตถุ ก็ทรงตั้งมาติกา (แม่บท) แห่ง